ตลอดเวลาสองปีที่เธอเรียนรู้อยู่ฮาวาย เธออาศัยในหอพัก 12 ชั้น ที่มีคนมาจากหลายประเทศทั่วโลก มากกว่า 200 คน ตามกฎต้องแยกกันอยู่กับเพื่อนที่มาจากประเทศเดียวกัน ทุกอย่างใช้ร่วมกัน อาทิ ห้องครัว ห้องน้ำ ที่นี่ทำให้เธอเกิดมิตรภาพใหม่ๆ ได้ฝึกภาษาและเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันและกันผ่านอาหารการกิน ทำให้เธอเข้าใจโลก ซึ่งช่วยทำให้มุมมองของเธอที่มีต่อโลกกว้างขึ้น ได้เรียนรู้ที่จะชื่นชมคนที่คิดต่าง และทำต่างจากที่เธอเคยคิด มีโอกาสสร้างมิตรภาพที่เหนียวแน่นทั้งกับเพื่อนคนไทยและคนต่างชาติ
เมื่อรู้ตัวว่ายังพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดีนัก แต่เมื่อได้รับโอกาสที่ดี เธอจึงพยายามพัฒนาตัวเองอยู่ทุกชั่วขณะ และจำคำสอนของครูต่างชาติที่เคยบอกไว้ นักเรียนไทยเป็นคนเงียบ หากไปเรียนแล้วต้องพูดให้มาก เพราะคะแนนการพูดจะมีผลกับเกรด
"พอไปเรียนฮาวายต้องปรับตัวมาก ชนิดกลับหน้าเป็นหลัง กลับหัวเป็นหาง เพราะต้องคุยกับเพื่อนต่างชาติ และคะแนนการมีส่วนร่วมในห้องเรียนก็มีความสำคัญมาก ต้องพูดแสดงความคิดเห็น ต้องเรียนรู้และปรับไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ โชคดีหน่อยทักษะการเขียนพอมีบ้าง ระบบการคิดก็ต้องปรับใหม่ ฝรั่งเขาชอบให้เราตั้งคำถาม นันคิดว่าเราต้องกล้า การพูดภาษาอังกฤษตะกุกตะกัก ทำให้เราเรียนรู้มากขึ้น ถ้าไม่กล้า มัวแต่กลัวผิด อาย ก็จะไม่เกิดการปรับตัว ไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”
โอกาสนอกจากหาให้ตัวเอง ต้องหาจากคนอื่น
หลังเรียนจบจากสหรัฐฯ เธอกลับมาสอนที่โรงเรียนเดิม ประมาณ 4 ปี ก็ตัดสินใจสอบชิงทุน Endeavour Postgraduate Scholarship จากรัฐบาลออสเตรเลีย ได้ไปเรียนปริญญาเอกที่ออสเตรเลียและพอเรียนจบก็ได้ทำงานที่ออสเตรเลียมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นงานสอนและวิจัยในมหาวิทยาลัย ซึ่งติด 1 ใน 50 มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยที่ดีที่สุดในโลก
เธอบอกว่าทั้งหมดทั้งมวลจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเธอไม่เดินตามความฝัน และไม่ได้รับแรงบันดาลใจและแหล่งข้อมูลจาก "สมพร นากลาง" ที่ได้รู้จักขณะเธอเรียนที่สหรัฐฯ คอยพูดบ่อยๆ ว่าเธอต้องทำได้
"เราไม่รู้ว่าโอกาสที่เราได้มาจะพาเราไปเจออะไร ดังนั้นเราควรเสาะหาโอกาสเสมอ กัลยาณมิตรนี่ยิ่งสำคัญ และเหนือสิ่งอื่นใด พัฒนาตัวเองให้พร้อมเสมอ เตรียมเครื่องมือสอยโอกาสของเราให้พร้อม ถึงแม้ผิดหวังบ้าง อย่าหยุดเรียนรู้ เพราะโอกาสมันจะเข้ามาเรื่อยๆ สำหรับคนที่พยายามตามหา และเมื่อมันมา มันต้องมีสักครั้งที่เราสามารถคว้ามันได้"
อุปสรรคเรียนปริญญาเอก 4 ปีที่ออสเตรเลีย
การเรียนปริญญาเอก 4 ปีที่ออสเตรเลียไม่ได้รับเกรด ทุกภาคการศึกษา จบหรือไม่จบวัดจากส่งเล่มวิทยานิพนธ์ ทำให้เธอรู้สึกกังวลว่าจะจบหรือไม่ เพราะเธอไม่ได้อ่านและทำงานหนักเท่าเพื่อนๆ คนอื่นที่เรียนด้วยกัน และเธอต้องไปสัมมนาหรือไปโครงการแลกเปลี่ยนที่ยุโรป สองสามครั้ง ครั้งละเดือน หรือสองเดือนบ้าง
นอกจากนี้พ่อไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย หลานสาวต้องผ่าตัดตั้งแต่แรกเกิดและต้องไปหาหมอตลอด บางทีก็ต้องได้บินด่วนกลับบ้านเพราะพ่ออาการทรุด ทุกเช้าสิ่งที่ทำทุกครั้งที่ลืมตาขึ้นมาคือดูโทรศัพท์ว่าน้องจะแจ้งอะไรมาไหม และก็จะส่งข้อความถามว่า ทุกคนสบายดีไหม
"การอยู่ไกลบ้านไกลครอบครัว คือสิ่งที่ลำบากสุด โดยเฉพาะสองเดือนสุดท้ายก่อนส่งเล่มวิทยานิพนธ์เพื่อสอบจบต้องบินกลับไทยด่วน ไปดูแลพ่อ และหลาน ตลอดเวลาเดือนครึ่งไม่มีเวลาเขียนวิทยานิพนธ์เลย ในที่สุดก็ต้องเขียนสามบทสุดท้าย รวมทั้งปรับแก้บทอื่นๆ ให้มันเข้ากัน ในเวลาสามอาทิตย์ มันเป็นอะไรที่เครียดมากที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้"
4 เทคนิคจบปริญญาโท เกรด 4.00
แม้ต้องเจอปัญหาทั้งการเรียนและปัญหาชีวิต แต่สุดท้ายเธอก็ก้าวข้ามผ่านปัญหาต่างๆ มาได้ด้วยดีจนเรียนจบปริญญาโท เกรด 4.00 ด้วย 4 เทคนิค คือ
1. strategic thinking การคิดแบบมีกลยุทธ์ วิเคราะห์งานที่จะทำ และคิดหาวิธีและวางแผนที่จะทำให้หลากหลาย แล้วเลือกกลยุทธ์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. มีการคิดสะท้อนกลับ เมื่อทำไปแล้วประเมินผล ว่าทำอะไร ผลเป็นยังไง ครั้งหน้าควรทำแบบนี้ไหม ควรทำอะไรที่ต่างจากนี้บ้าง เพื่อให้ผลมันดีขึ้น
3. Resilience คือ ท้อได้แต่อย่าถอย ทุกความล้มเหลวเป็นบทเรียน หากคิดเช่นนี้จะไม่เคยรู้สึกว่าแพ้ แม้แต่ความล้มเหลวก็สอนได้มากโข
4. การคบกัลยาณมิตรที่ดี คอยช่วยเหลือแนะนำสิ่งดีๆ
วันนี้ความฝันของ ดร.นัน เป็นจริงและเธอประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เธอบอกกับทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ความสำเร็จในวันนี้คือความสำเร็จของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าพ่อแม่ไม่ให้กำเนิด ไม่เลี้ยงดู ไม่สอนให้รู้จักความลำบากในวัยเด็ก ไม่ส่งเสียให้เรียนมัธยมศึกษา และไม่สอนให้คิดถึงคนอื่นนอกจากความต้องการของตนเอง เธอคงไม่มีวันนี้ และถึงแม้วันนี้พ่อได้จากเธอไปแล้ว แต่เธอเชื่อว่าพ่อภูมิใจกับทุกความสำเร็จของเธอ เพราะทุกครั้งที่มองรอยยิ้มของแม่ เธอจะเห็นรอยยิ้มของพ่อด้วยเสมอ
"พ่อและแม่คือแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้ทำตามความฝัน พ่อแม่จะบอกเสมอ ให้คิดดี พูดดี ทำดี ทำตามสิ่งที่เห็นว่าสมควร นันพยายามให้ได้ทุนเรียนเต็มจำนวนทุกระดับ เพื่อแบ่งเบาภาระทางบ้าน นันเชื่อว่าถ้าเราไม่เดินตามฝัน เราก็จะอยู่จุดนั้นตลอดไป ถ้าเราเอาชนะความกลัวและเริ่มก้าวเดิน ทุกย่างก้าวคือการเรียนรู้ เราไม่รู้ว่าก้าวนั้นจะพาเราไปจุดไหน และเราก็ไม่รู้ว่ามันจะพาเราไปถึงจุดหมายหรือไม่ แต่อย่างน้อย เรารู้ว่า มันจะพาเราออกจากจุดเริ่มต้นของเราแน่นอน" ดร.นัน แนะนำสำหรับผู้ที่มีฝัน แต่ไม่กล้าเดินตามฝัน
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
ข่าวน่าสนใจ
ดังเพราะความดี วัยรุ่นเพศที่สาม พลิกโอกาสสู้โควิด มีรายได้วันละ 500
พร้อมตายทุกวินาที รักแท้ของพ่อ ลาออกงานที่ใฝ่ฝัน ดูแลลูกป่วย รอดปาฏิหาริย์
หญิงไทยคนแรก ทำงานบริษัทอันดับ 4 ของโลก ผลิตเครื่องบิน จรวด อาวุธทหาร
3 นาทีคดีดัง : ปริศนาลึกลับ คนหายที่เขาใหญ่ (คลิป)
เลือดออกในสมอง เป็นตายเท่ากัน แม่ตัดสินใจด่วน ลูกรอดปาฏิหาริย์
September 07, 2020 at 05:30AM
https://ift.tt/3lWvZAp
ไม่เก่งภาษา แต่จบโทเกรด 4.00 จากเด็กยากจนสู่ ดร.นักเรียนนอก 2 ประเทศ - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3eZTFQ5
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ไม่เก่งภาษา แต่จบโทเกรด 4.00 จากเด็กยากจนสู่ ดร.นักเรียนนอก 2 ประเทศ - ไทยรัฐ"
Post a Comment